สกรู โบลต์ นัต เป็นอุปกรณ์งานช่างชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับจับยึดสิ่งต่างๆแบบชั่วคราว กล่าวคือ สามารถขัน ไข ออกจากกันได้ มีลักษณะเป็นเกลียว เรียกแบบช่างทั่วไปได้ว่าเกลียวละเอียด และเกลียวปล่อย ซึ่งแต่ละอันจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป คนที่ไม่ค่อยรู้งานช่างอาจไม่รู้จักสกรู โบลต์ นัต ดีมากนักว่าสามารถใช้งานด้านไหนได้บ้าง และมีหน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอุปกรณ์งานช่างเหล่านี้กัน
สกรู (Screw)
สกรูเป็นสลักเกลียวที่มีขนาดเล็กและมีให้เลือกหลากหลายชนิดตามการใช้งาน วิธีการดูสกรูว่าเป็นชนิดไหนให้สังเกตจาก 2 ส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนตัวเกลียว ส่วนหัวสกรูจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันไป เช่น หัวกลม หัวหกเหลี่ยม หัวสี่เหลี่ยม และหัวฝัง บนหัวของสกรูจะถูกทำเป็นร่องแฉก หรือเป็นหลุมลงไปเพื่อใช้สำหรับขันหรือคลายเกลียวด้วยไขควง หรือสว่าน แต่ส่วนของลำตัวสกรูจะสังเกตได้จากความละเอียดของเกลียว สามารถแบ่งได้เป็นชนิดเกลียวละเอียด และเกลียวปล่อย
-
- สกรูเกลียวละเอียด (Fine Threaded Screw) หรือสกรูเครื่องจักร (Machine Screw) เป็นสกรูขนาดเล็กที่มีเกลียวซึ่งออกแบบไว้อย่างละเอียด มักใช้กับงานที่เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ อาจใช้หรือไม่ใช้ร่วมกับนัต ซึ่งแบ่งแยกแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ สกรูหกเหลี่ยมเกลียวเต็ม, สกรูหัวแฉก, สกรูหัวผ่า, สกรูหกเหลี่ยมครึ่งเกลียว, สกรูหัวผ่าหกเหลี่ยม, สกรูหัวแฉกแบน, สกรูแฉกเรียบ, สกรูหัวคอมไบน์, สกรูหางแบน
- สกรูเกลียวหยาบ (Coarse Threaded Screw) หรือสกรูโลหะแผ่น สกรูงานไม้ และมักถูกเรียกว่าสกรูเกลียวปล่อย เป็นสกรูขนาดเล็กที่มีเกลียวเป็นบางค่อนข้างห่างกัน มักใช้ยึดชิ้นงานซึ่งเป็นโลหะบางๆ หรือไม้เข้าหากัน บางของสกรูช่วยเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้ชิ้นงานแน่นหนา ที่ได้ชื่อว่าเกลียวปล่อยเพราะสามารถยิ่งสกรูเข้าไปในชิ้นงานได้โดยตรงโดยอาจไม่ได้ทำร่องนำไว้ก่อนได้ แบ่งได้ดังนี้ สกรูเกลียวปล่อยหัวผ่าหกเหลี่ยม, สกรูเกลียวปล่อยหัวแฉก, สกรูเกลียวปล่อยแฉกเรียบ, สกรูเกลียวปล่อยแฉกแบน, สกรูเกลียวปล่อยแฉกนูน
โบลต์ (Bolt)
โบลต์ หรือสลักเกลียว มีลักษณะเป็นแท่งโลหะมีหัวกลมหรือเหลี่ยมตอนปลายมีเกลียวสำหรับยันยึดกับนัต (แป้นเกลียว) ลักษณะของโบลต์ประกอบด้วยแกนโบลต์ (Body) เกลียว (Thread) และหัว (Head) แบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
- โบลต์หัวหกเหลี่ยม (Hexagonal Head bolt) โบลต์หัวหกเหลี่ยมมีหลายแบบ บางแบบมีหน้าแปลนหรือใช้แหวนสปริงรอง โบลต์แบบหน้าแปลนส่วนหัวของโบลต์จะสัมผัสกับชิ้นส่วนได้พื้นผิวมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนได้น้อย โบลต์แบบมีแหวนรองแบบนี้ประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับแบบมีหน้าแปลน จะนำไปใช้เมื่อต้องการยึดชิ้นส่วนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหัวโบลต์ และโบลต์แบบนี้จะใช้แหวนสปริงรองระหว่างหัวโบลต์กับแหวมรองเพื่อลงการคลายของโบลต์ให้น้อยลง
- โบลต์รูปตัวยู (U-Bolts) มีลักษณะเหมือนตัวยู ในรถยนต์จะใช้ในการยึดแผ่นแหนบเข้ากับเสื้อเพลาท้ายหรือใช้รัดชิ้นส่วนเข้าหากัน เช่น สลิง
- สตัด (Studs) เป็นโบลต์ชนิดหนึ่งมีลักษณะที่ปลายทั้งสองข้างจะเป็นเกลียวปลายข้างหนึ่งจะเป็นเกลียวหยาบเพื่อขันเข้ากับชิ้นงาน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะเป็นเกลียวละเอียด จะใช้กับนัตเพื่อยึดชิ้นงาน
นัต (Nut)
นัตเป็นแป้นเกลียวตัวเมียที่ใช้คู่กับโบลต์หรือสลักเกลียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลาง และมีเกลียวอยู่ภายใน นัตที่ใช้งานทั่วๆไปจะเป็นแบบหัวหกเหลี่ยม แต่ก็มีให้เลือกใช้อีกหลายชนิด ดังนี้
- นัตหกเหลี่ยม เป็นนัตที่พบเห็นบ่อยๆในงานช่างทั่วไป มีลักษณะเป็นมุมหกเหลี่ยมมีรูตรงกลาง และมีเกลียวภายในเพื่อใช้หมุนหรือขันให้เข้ากับสกรู ใช้ล็อคตัวสกรูยึดวัสดุให้มีความแน่นหนามากขึ้น ป้องกันการคลายหรือหลุดของตัวสกรู
- นัตหกเหลี่ยมมีบ่า มีลักษณะที่เป็นหกเหลี่ยมแต่ส่วนล่างของนัตมีบ่ายื่นออกมา เป็นนัตช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากในการประกอบตัวนัตเข้ากับแหวนรองนัต และเหมาะสมกับงานในลักษณะที่ต้องการความแข็งแรงและแน่นหนาสูงเป็นพิเศษ
- นัตหัวหมวก มีลักษณะเป็นมุมหกเหลี่ยม มีส่วนด้านบนคล้ายกับหมวก เป็นนัตที่ช่วยปกปิดส่วนปลายของสกรูเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินชน เดินเฉี่ยวตัวนัตได้
- นัตหัวผ่า ตัวน็อตภายนอกจะเป็นเหลี่ยมหกมุม บริเวณด้านใดด้านหนึ่งยื่นออกมาเป็นร่อง แตกต่างกับหัวนัตหกเหลี่ยม ตรงเหลี่ยมจะแยกจากกัน โดยภายในจะมีร่องเกลียว ใช้สำหรับหมุนเข้ากับตัวสกรู ในการจับยึด ล็อกชิ้นส่วนหรือวัตถุต่างๆเข้าหากัน
- นัตเชื่อม มีรูปร่างเหมือนนัตหกเหลี่ยม แตกต่างกันตรงลักษณะงานที่ใช้ นัตชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานที่ต้องเชื่อมติดกับวัสดุ เช่น งานเชื่อมเหล็ก เป็นต้น
- นัตแบบมีล็อกในตัว ช่วยป้องกันการคลายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพป้องกันไม่ให้สกรูหลุดออก นิยมใช้งานโดยกว้างทั้งในงานก่อสร้าง และงานเครื่องยนต์ขนาดใหญ่
- นัตหางปลา มีส่วนที่ยื่นออกมาด้านข้างทั้ง 2 ด้าน คล้ายกับหางปลา ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน สามารถลดการใช้อุปกรณ์หรือพึ่งพาเครื่องมือต่างๆได้
- นัตสำหรับยึด มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านข้างจะมีขายื่นออกมา โดยเวลาที่จะประกอบจะต้องบีบขานัตและใส่ลงตามช่อง Rack เป็นนัตที่พบได้บ่อยในงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
- นัตขึ้นลาย ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้มือหมุนได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องถอดประกอบและขนย้ายบ่อยๆ
บทความที่คุณอาจจะสนใจ
- ประเภทของน๊อตสกรูไดวอล กับอุปกรณ์ที่ใช้ไข แบบไหนดีที่สุด
- ทำความรู้จัก “สกรูเกลียวหุน” มีแบบไหนบ้าง ?
ช่องทางติดต่อ คลิ๊ก
- ที่อยู่ 80 หมู่2 ถ.บางนาตราด ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
- เบอร์ติดต่อ 085-082-8888 , 084-603-7778
อีเมล apnhardware@gmail.com