หน้าที่ของ เกลียวปล่อยสแตนเลส นั้น คือการเป็นตัวเชื่อมให้วัสดุทั้งสองยึดติด ให้สนิทกันอย่างแน่นหนา และไม่ให้หลุดออกจากกัน และผู้คนบางส่วนไม่ว่าจะเป็นช่างหรือบุคคลทั่วไป ก็คงจะเคยได้ใช้กันบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะมีการใช้งานที่ผิดๆไปบ้าง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้งานตามที่ต้องการ หรือยึดติดไม่สนิทกันเท่าไหร่ ดังนั้นการเจาะหรือใช้สกูรต้องมีเทคนิคในการใช้ และยังมีการเข้าผิดในการใช้อยู่เรื่อยๆ เรามาดูเทคนิคการใช้ เกลียวปล่อยสแตนเลส ที่ถูกต้องกันดีกว่า
เทคนิคการใช้เกลียวปล่อยสแตนเลส
การเจาะนำ คือการเจาะให้ขนาดรูเจาะ เล็กกว่าหรือเท่ากับขนาดโคนของเกลียวสำหรับงานสแตนเลส แต่ถ้าเป็นงานไม้เนื้ออ่อน เหนียว ไม่จำเป็นต้องเจาะรูนำ แต่จะนิยมเจาะรูนำสำหรับไม้เนื้อแข็งเพราะหากไม่เจาะรูนำ เกลียวปล่อยอาจจะทำให้ไม้บวมหรือแตกได้
การเจาะรูผ่าน เจาะรูนำงานชิ้นแรกและเจาะรูผ่านไปจนถึงงานชิ้นที่สอง แต่จะต้องเจาะรูโดยใช้ดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่กว่าเกลียวปล่อย ตัวอย่างเช่น เราต้องการจะใช้เกลียวปล่อยสแตนเลสขนาด 3.8 มม. เราจะต้องใช้ดอกเจาะผ่านที่ใหญ่ประมาณ 4 มม. เพื่อที่จะให้งานชิ้นแรกใหญ่กว่าตัวเกลียวเล็กน้อย เพื่อให้เกลียวได้มีโอกาสดึงวัสดุชิ้นที่ 2 เข้าด้วยกัน การเจาะรูผ่าน นิยมเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวฟรีของการดูดของเกลียวปล่อย
แต่หากเราต้องการที่จะเจาะรูผ่านที่เล็กกว่าขนาดเกลียว รูจะได้คับๆแน่นๆนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ การเจาะรูให้เท่ากันแบบคับๆ ทั้งสองชิ้นงานที่ต้องการจะยึดติดกัน แล้วบีบงานให้สนิทเข้าหากัน หลังจากนั้นขันเกลียวปล่อยตามหลัง ภาพรวมออกมามันจะดูสนิทดี แต่แท้ที่จริงแล้วงานทั้ง 2 ชิ้นนั้น จะไม่ได้ถูกเกลียวปล่อยยึดไว้เลย
และไม่ได้มีการดูดเข้าหากันแต่อย่างใด มีโอกาสที่ทั้งสองชิ้นงานจะหลุดออกจากกันได้ ถึงแม้จะขันเกลียวแน่นแล้ว จะไม่รู้สึกถึงความแน่นหนาของชิ้นงานเลย และหากจะอัดกาวไปด้วยก็ยังไม่สามรถทำให้สนิทได้ แต่หากเราเปลี่ยนไปใช้วิธีแรกที่แนะนำนั้น จะได้เห็นได้ชัดเลยว่า วัสดุทั้งสองชิ้นจะยึดชิดและสนิทกันมากขึ้น การใช้งานให้ถูกวิธีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากๆของช่างฝีมือ หรือบุคลทั่วไปก็อาจจะต้องทำให้ถูกวิธี เพื่อชิ้นงานที่ได้คุณภาพ
อ่านต่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
– ลักษณะเกลียวและชนิดของเกลียวปล่อยสแตนเลส