ทำความรู้จัก “สแตนเลส” คืออะไร ?

สแตนเลสคืออะไร ?

สแตนเลส หรือเรียกอีกชื่อได้ว่าเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) คือโลหะผสม (Alloy) ที่มีส่วนประกอบหลักคือ เหล็ก และโครเมียม อย่างน้อย 10.5% ของน้ำหนัก และต้องมีคาร์บอนน้อยกว่า 1.2% อาจมีการเติมสารชนิดอื่น ๆ เช่น นิเกิล แมงกานีส ทองแดง โมลิบดินั่ม อลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของสแตนเลสให้เหมาะกับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยคุณสมบัติหลักของสแตนเลสสตีล คือ ไม่เกิดสนิม ทนความชื้น ทนต่อการกัดกร่อนนั่นเอง

ประเภทของสแตนเลสมีอะไรบ้าง

ประเภทของสแตนเลสแบ่งเป็นหลัก ๆ มี 5 ประเภท คือ

  • Ferritic

สแตนเลสประเภทเฟอริติกมักจะมีนิกเกิลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย แต่จะมีโครเมียมในปริมาณที่มากกว่าแทน สแตนเลสเฟอริติกมีความสม่ำเสมอของคาร์บอนน้อยมาก โดยทั่วไปจะไม่เกิน 0.1% อุณหภูมิจะไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสแตนเลสนี้ ด้วยโครเมียมทำให้เป็นโลหะผสมที่มีความทนทานอย่างต่อเนื่อง ทนทานต่อการแตกร้าวจากความเครียดและการกัดกร่อน และมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก


  • Austenitic

สแตนเลสออสเตนนิติกจะประกอบด้วยนิกเกิล โครเมียม โมลิบดีนัม และโครเมียมในปริมาณสูง ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะสร้างโลหะผสมที่มีชื่อเสียงในด้านความอ่อนตัว ความต้านทานการกัดกร่อน และความแข็งแรง ในบรรดาสแตนเลสทั้ง 5 ชนิด ออสเทนนิติกเป็นสแตนเลสที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบสแตนเลสส่วนใหญ่ ตั้งแต่เครื่องใช้ในครัวไปจนถึงข้อต่อท่อสแตนเลส ด้วยเหตุนี้สแตนเลสประเภทออสเตนนิตกจึงเป็นที่ใช้กันทั่วไป

  • Martensitic

สแตนเลสมาร์เทนซิติกมีความคล้ายคลึงกับสแตนเลสเฟอริติกมาก โดยมีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือสแตนเลสมาร์เทนซิติกมีปริมาณคาร์บอนมากกว่า ประมาณ 1% ความแตกต่างง่ายๆ นี้ทำให้สแตนเลสมาร์เทนซิติกมีคุณลักษณะเฉพาะ สามารถชุบแข็งได้ในระดับที่มีความแข็งแรงเกินกว่าโลหะผสมเฟอริติก

  • Duplex

สแตนเลสดูเพล็กซ์ เกิดจากการผสมสแตนเลสออสเทนนิติกและเฟอริติก การรวมกันนี้ทำให้สแตนเลสแบบดูเพล็กซ์แข็งแกร่งกว่าสแตนเลส 2 ชนิดที่สร้างแยกกันและทนทานต่อการกัดกร่อนสูง สแตนเลสประเภทนี้มักใช้กับแท่นขุดเจาะน้ำมันและในโรงก๊าซ

  • Precipitation hardening (PH)

สแตนเลส PH มีความทนทานต่อการกัดกร่อนที่เหนือกว่าสแตนเลสออสเทนนิติก ตลอดจนศักยภาพในการชุบแข็งที่แข็งแรงเทียบเท่าสแตนเลสมาร์เทนซิติก เพื่อให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ สแตนเลส PH จะต้องผ่านการอบชุบด้วยความร้อน การบำบัดด้วยสารละลาย และการชุบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ

เกรดของสแตนเลส 

เกรดของสแตนเลสที่มักจะพบในชีวิตประจำวันมีหลัก ๆ ดังนี้

สแตนเลสเกรด 304 (SUS 304)

เป็นเกรดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในทางอุตสาหกรรม และสามารถใช้กับการปั้มขึ้นรูปสูง ๆ ได้ เช่น นำมาทำอุปกรณ์เสริมปลอดภัย คือ บานพับ ลูกบิดประตู เป็นต้น

สแตนเลสเกรด 316 (SUS 316)

เป็นสแตนเลส ที่นิยมใช้รองลงมาจากเกรด 304 แต่สามารถทนต่อการเกิดสนิม และการกัดกร่อนได้สูงกว่าเกรด 304 เหมาะกับนำไปทำอุปกรณ์ทางเรือ หรือเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

สแตนเลสเกรด 430 (SUS 430)

เป็นสแตนเลสเกรดนี้มีความแข็งแกร่งสูงกว่าสแตนเลสเกรด 304 และ 316 เหมาะสำหรับงานที่รับแรงสูงกว่า เพราะปกติมักจะมีความเหนียวมากกว่าความแข็ง ซึ่งเหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ชุดครัวในเรื่องการตัดหั่นต่าง ๆ เช่น ทำมีดต่าง ๆ หรือที่วางเตาแก๊ส เป็นต้น

สแตนเลสเกรด 202 (SUS202)

เป็นสแตนเลสอีกเกรดซึ่งจะประกอบด้วย โครเมี่ยม ,นิกเกิล และแมงกานีส ซึ่งแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ความทนทานต่อสนิม มักนิยมใช้ในงานผลิตสินค้า ฮาร์ดแวร์ ต่าง ๆ เช่น บานพับ และกลอนประตูเกรดล่าง เป็นต้น

ประโยชน์ของสแตนเลส

  • สามารถทนทานต่อการกัดกร่อน
  • ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
  • ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป เช่น การใช้ทำอุปกรณ์เครื่องครัว 
  • มีความทนทาน และแข็งแรงในระดับนึง
  • มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
  • ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายระบบนิเวศ

การดูแลรักษาสแตนเลส

  • หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ ควรทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น
  • ในการทำความสะอาดควรเริ่มจากวิธีและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนที่สุดก่อน เสมอและทดลองทำความสะอาดเป็นบริเวณเล็กๆ ก่อนเพื่อให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  • ใช้น้ำอุ่นเพื่อช่วยขจัดความมันของน้ำมันหรือจาระบีในขั้นตอนสุดท้ายของการทำความสะอาด ให้ใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มหรือกระดาษชำระแผ่นใหญ่ทุกครั้ง
  • เมื่อใช้กรดทำความสะอาดสแตนเลส ควรใช้มาตรการป้องกันและระมัดระวังอย่างเหมาะสม
  • ล้างเครื่องใช้ที่ทำจากสแตนเลสทันทีที่เตรียมอาหารเสร็จเสมอ
  • หลีกเลี่ยงรอยเปื้อนที่เกิดจากเหล็กโดยไม่ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำจาก โลหะ หรืออุปกรณ์ที่เคยนำไปทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มาก่อน

สิ่งที่ควรระวังกับพื้นผิวสแตนเลส

  • อย่าเคลือบสแตนเลสด้วยขี้ผึ้งหรือสารที่มีความมัน เพราะจะทำให้ฝุ่นหรือรอยเปื้อนติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้นและทำความสะอาดออกได้ยาก
  • อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ (Chlorides) และ เฮไลด์ (Helides) 
  • อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดสแตนเลส
  • อย่าใช้กรดไฮโดรคลอริค ( HCI) ในการทำความสะอาด เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็มและแบบเป็นรอยร้าวได้ ( Pitting and Stress Corrosion Cracking)
  • อย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเงิน
  • อย่าใช้ปริมาณสบู่และผงซักฟอกมากเกินไปในการทำความสะอาด เพราะอาจทิ้งคราบไว้บนพื้นผิวได้
  • อย่าทำความสะอาดส่วนที่มีคราบฝังแน่นในขั้นตอนเดียว ควรทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนขจัดคราบฝังแน่น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top